กรมบัญชีกลางอัปเดตสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนมีนาคม 2567 จ่ายอะไรได้บ้าง-
นางสาวทิวาพร ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ซึ่งในเดือนมีนาคม 2567 จะได้รับสิทธิ ดังนี้
วันที่ 1 มีนาคม 2567 (เป็นวงเงินสิทธิไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)
- วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อคนต่อเดือนสำหรับผู้มีสิทธิที่ยืนยันตัวตน 27 ม.ค. – 26 ก.พ. 2567 และเริ่มใช้สิทธิได้ 1 มี.ค. 2567 (ไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง)
เปิดจดหมาย 4 หน้า “หม่อมอุ๋ย" ถึง นายกฯ เศรษฐา แก้ปมพลังงาน
ราคาทองวันนี้ (2 มี.ค. 2567) “พุ่งพรวดเดียว 400 บาท” หลังทอง Spot พุ่งทำนิวไฮ
โอนเงินให้ชาวนา อีกกว่า 1.3 หมื่นครัวเรือนอีกกว่า 76 ล้านบาท
- วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (มกราคม – มีนาคม 2567)
- วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือน ประกอบด้วย บขส. รถไฟ ขสมก. รถไฟฟ้า MRT (สายสีน้ำเงิน/สีม่วง) BTS (สายสีเขียว/สีทอง/สีเหลือง/สีชมพู) ARL (Airport Rail Link/สายสีแดง) และรถโดยสารเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
วันที่ 11-13 มีนาคม 2567
- เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ได้รับสิทธิในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อัตรา 100 บาทต่อเดือน (มกราคม – มีนาคม 2567)
โดยผู้ที่เกิดก่อน1 ม.ค. 2507 เดือนที่มีสิทธิคือ ม.ค. – มี.ค. 67 จำนวนเงิน 300 บาท
เกิดระหว่าง1 – 31 ม.ค. 2507 เดือนที่มีสิทธิคือ ก.พ. – มี.ค. 67 จำนวนเงิน200 บาท
เกิดระหว่าง1 – 29 ก.พ. 2507เดือนที่มีสิทธิคือ มี.ค. 67จำนวนเงิน100 บาท
วันที่ 11 มีนาคม 2567 สำหรับผู้มีสิทธิที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2495
วันที่ 12 มีนาคม 2567 สำหรับผู้มีสิทธิที่เกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2495 – 31 ธันวาคม 2501
วันที่ 13 มีนาคม 2567 สำหรับผู้มีสิทธิที่เกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2501 – 29 กุมภาพันธ์ 2507 สำหรับผู้มีสิทธิที่ได้ทำการยืนยันตัวตน (e-KYC) แล้ว ภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 จะได้รับการโอนเงินผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้
(1) บัญชีร่วมกับบุคคลอื่นหรือบัญชีบุคคลอื่น ตามหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่นสำหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (เฉพาะกรณีผู้พิการ/ผู้ป่วยติดเตียง/และหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่สามารถเปิดบัญชีหรือผูกพร้อมเพย์ได้) หรือหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีบุคคลอื่นสำหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (เฉพาะกรณีผู้พิการ/ผู้ป่วยติดเตียง/และหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปที่ไม่สามารถเปิดบัญชีหรือผูกพร้อมเพย์ได้) หรือ
(2) กรณีไม่มีบัญชีตาม (1) จะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิ (ต้องผูกพร้อมเพย์ภายในวันที่ 6 มีนาคม 2567)
วันที่ 20 มีนาคม 2567
- เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน
สำหรับผู้มีสิทธิที่เป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือนที่ยืนยันตัวตน 27 ม.ค. – 26 ก.พ. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง (โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิหรือบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท)
กรมบัญชีกลางขอรายงานผลการจ่ายเงินสวัสดิการแห่งรัฐ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 – 29 กุมภาพันธ์ 2567 ดังนี้
- สวัสดิการที่ให้เป็นวงเงิน (บัตรประจำตัวประชาชน)
- วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 4,006.43 ล้านบาท
- วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม34.64ล้านบาท
- วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ140.43ล้านบาท
- สวัสดิการที่ให้ผ่านระบบพร้อมเพย์ (บัตรประจำตัวประชาชน)
- มาตรการเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 จำนวน252.93ล้านบาท
- สวัสดิการที่จ่ายตรงผู้ให้บริการ
- มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า198.65ล้านบาท
- มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปา23.00ล้านบาท
คำพูดจาก เล่นเกมสล็อตออนไลน์
รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,656.08ล้านบาท “ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 0 2109 2345 หรือ Call Center กรมบัญชีกลาง 0 2270 6400 ในวัน เวลาราชการ” โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าว