ส่องร้านอาหารในญี่ปุ่น เสิร์ฟเมนูเนื้อวาฬโดยเฉพาะ
เวลานี้ญี่ปุ่นกำลังหันมาส่งเสริมให้ชาวต่างชาติที่เดินทางไปเยือนได้ลิ้มลองเมนูเนื้อวาฬ เนื่องจากตลาดภายในประเทศตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทีมข่าวพีพีทีวีได้มีโอกาสได้เข้าไปเยือนร้านอาหารที่ขายเมนูเนื้อวาฬโดยเฉพาะ
นี่คือภาพของเชฟร้านอาหารที่จำหน่ายเมนูเนื้อวาฬแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียวกำลังรังสรรค์เมนูเนื้อวาฬให้กับทีมข่าวพีพีทีวีได้ลิ้มลอง โดยเมนูที่เชฟกำลังทำให้อยู่นี้ เป็นเมนูแนะนำที่ได้รับความนิยมของร้าน อย่างสเต็กเนื้อวาฬราดซอสญี่ปุ่น และซาชิมิเนื้อวาฬ
คาเฟ่ญี่ปุ่นแหวกแนว เสิร์ฟอาหาร-เครื่องดื่มที่ทำจากแมลง
เมนูอาหารไต้หวันแปลกขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดผุดไอเดีย “ราเม็งจระเข้”
โดยราคาแบบอลาคลาสของสเต็กเนื้อวาฬราดซอสญี่ปุ่นอยู่ที่ 1,400 เยน หรือประมาณ 340 บาท ส่วน ซาชิมิเนื้อวาฬอยู่ที่ราคา 1,200 เยน หรือเกือบ 300 บาท
นอกจากสองเมนูนี้ที่ทางร้านแนะนำแล้ว ก็มีเมนูเนื้อวาฬทอด ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 1,100 เยน หรือประมาณ 267 บาทด้วย
ส่วนใครที่มาเป็นคู่ หรือ 3 คนที่อยากจะลิ้มลองเมนูวาฬแบบเป็นคอร์ส ซึ่งเชฟจะนำส่วนต่างๆของวาฬมาต้ม ทอด ย่าง ก็มีให้เลือก
โดยราคาคอร์สเมนูวาฬ เริ่มต้นตั้งแต่ 11,000 เยน หรือกว่า 2,600 บาท สำหรับรับประทานสองคน และสูงสุดคือเกือบ 27,000 เยน หรือกว่า 6,700 บาท สำหรับรับประทานสามคน
ต้องบอกว่า เนื้อวาฬ ที่คุณผู้ชมเห็นอยู่นี้ ถือเป็นเนื้อสัตว์ยอดนิยมของชาวญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นประกาศยอมพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างไม่มีเงื่อนไข หลังถูกสหรัฐฯ ถล่มด้วยระเบิดปรมาณู 2 ลูกติดๆ กัน ในวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคมในปี 1945 จนสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับญี่ปุ่นคำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1
ผลพวงจากการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเกาะที่ล้อมรอบด้วยทะเลเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร ชาวญี่ปุ่นเลยหันมาบริโภคเนื้อวาฬ เพราะเวลานั้นเนื้อวาฬถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ราคาย่อมเยาว์ โดยปี 1962 ถือเป็นปีที่ชาวญี่ปุ่นบริโภคเนื้อวาฬสูงสุดอยู่ที่ 233,000 ตัน
อย่างไรก็ตามจากนั้นไม่นาน ชาวญี่ปุ่นได้หันมาบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่น แทนเนื้อวาฬเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 1986 ความต้องการบริโภคเนื้อวาฬของชาวญี่ปุ่นลดลงเหลือ 6,000 ตัน ก่อนที่ คณะกรรมการล่าวาฬระหว่างประเทศ ( IWC) ซึ่งญี่ปุ่นร่วมเป็นสมาชิกมาตั้งแต่ปี 1951 จะสั่งระงับการล่าวาฬในเชิงพาณิชย์ แต่ในปี 2019 ญี่ปุ่นได้ประกาศถอนตัวอย่างเป็นทางการ จากการเป็นสมาชิก IWC เพื่อกลับมาล่าวาฬอีกครั้ง
การถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของญี่ปุ่นในครั้งนั้น เกิดขึ้นท่ามกลางเสียงคัดค้านจากนานาประเทศ แต่ว่าในญี่ปุ่นเองกลับได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายออกกฏหมายจากฝั่งอนุรักษ์นิยม เนื่องจากพวกเขามองว่า การล่าวาฬ ถือเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ซึ่งมีความผูกพันกับวิถีชีวิต และเปรียบได้กับประเพณีวัฒนธรรมของญี่ปุ่น
ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ยืนยันว่า การบริโภคเนื้อวาฬ ถือเป็นวัฒนธรรมที่หวงแหนของประเทศ แต่นักอนุรักษ์ ระบุว่า เนื้อวาฬไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำวันในญี่ปุ่นอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนรุ่นใหม่ และปัจจุบันความนิยมในการบริโภคเนื้อวาฬก็ลดลงไปมาก โดยประชากรมากถึง 95 % แทบจะไม่กินเนื้อวาฬ หรือไม่กินเลยด้วยซ้ำ
สำนักงานประมงของญี่ปุ่น ระบุว่า ความต้องการเนื้อวาฬในญี่ปุ่นมีความผันผวนอยู่ที่ระหว่าง 3,000-5,000 ตันต่อปี
อย่างไรก็ตามในปี 2019 ปริมาณความต้องการเนื้อวาฬลดลงเหลือ 2,000 ตัน หรือคิดเป็นชาวญี่ปุ่นบริโภคเนื้อวาฬ 20 กรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ล่าวาฬ ระบุว่า ความต้องการเนื้อวาฬที่ลดลงในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา เกิดจากการขาดการนำเข้าจากต่างประเทศในช่วงการระบาดของโควิด
อย่างไรก็ตามจากฐานข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่า ปี 2021 การบริโภคเนื้อวาฬในประเทศ อยู่ที่ 1,000 ตันเท่านั้น เมื่อเทียบกับเนื้อไก่ ซึ่งมีผู้บริโภคสูงถึง 2 ล้าน 6 แสน ตัน และเนื้อวัวมีผู้บริโภคในประเทศสูงถึง 1 ล้าน 2 แสน 7 หมื่นตัน
การขาดความต้องการบริโภคเนื้อวาฬของชาวญี่ปุ่น หมายความว่า เนื้อวาฬที่ขายไม่ออกในแต่ละปีต้องจบลงด้วยการเป็นอาหารของสุนัข
แล้วรัฐบาลญี่ปุ่นแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง?
เมื่อปี 2020 รัฐบาลญี่ปุ่นจัดสรรเงินอุดหนุนกว่า 5 พันล้านเยนเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมดังกล่าว
ขณะที่ต้นปีที่ผ่านมา บริษัท Kyodo Senpaku ของญี่ปุ่น ได้เปิดตัว ตู้กดเนื้อวาฬ เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในประเทศกลับบริโภคเนื้อวาฬ หลังซูเปอร์มาร์เก็ตไม่อนุญาตให้ขายเนื้อวาฬอีกต่อไป
ความเคลื่อนไหวนี้ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับกลุ่มนักอนุรักษ์ด้านสิทธิสัตว์ พร้อมชี้ว่า กิจการดังกล่าวเป็นความเคลื่อนไหวทางการตลาดแบบเลือดเย็น ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่ล้มเหลว
นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังพยายามเพิ่มการบริโภคเนื้อวาฬให้กับผู้คน โดยการพยายามนำเนื้อวาฬใส่ลงไปในมื้ออาหารกลางวันในโรงเรียนให้กับเด็กๆ และส่งเสริมการพัฒนาสูตรอาหารที่มีเนื้อวาฬเป็นส่วนประกอบ รวมถึงสร้างเว็บไซต์เพื่อค้นหาสถานที่รับประทานเนื้อวาฬ แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้คนหันมาบริโภคเนื้อวาฬได้เพิ่มขึ้น
ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งเปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวีว่า สาเหตุที่คนญี่ปุ่นไม่ค่อยบริโภคเนื้อวาฬ เพราะว่าเนื้อวาฬไม่อร่อย และในญี่ปุ่นมีเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว ที่อร่อยกว่า และราคาถูกกว่า
ทากะ ชาวญี่ปุ่น บอกว่า "เมื่อก่อนเหมือนจะชอบกินเนื้อวาฬกันอยู่นะครับ แต่พวกเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัวค่อยๆใช้ต้นทุนการผลิตถูกลง ก็เลยหาซื้อได้ทั่วไป คิดว่า ตรงนี้เลยทำให้คนไม่ค่อยกินเนื้อวาฬกัน แล้วก็ถ้าให้เปรียบเทียบเรื่องรสชาติกับเนื้อชนิดอื่นๆ เนื้อวาฬ ก็ไม่ได้อร่อยขนาดนั้นครับ เลยคิดว่านี่คงเป็นสาเหตุที่คนญี่ปุ่นเริ่มไม่ค่อยกินเนื้อวาฬกันแล้วครับ"
การกระตุ้นให้ชาวญี่ปุ่นกลับมาบริโภคเนื้อวาฬมากขึ้นถือเป็นเรื่องที่ยาก ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้ค้าเนื้อวาฬ และร้านอาหารที่จำหน่ายเมนูเนื้อวาฬกำลังทำงานร่วมกับสำนักงานการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เพื่อเอาชนะใจนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีข้อกังขาเรื่องการบริโภคเนื้อวาฬ
โดยญี่ปุ่นได้เลือกเชิญอินฟลูเรนเซอร์จากฝรั่งเศส รัสเซีย เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศไทย เข้ามาโปรโมทเมนูอาหารจากเนื้อวาฬของญี่ปุ่นให้กับผู้ติดตามของพวกเขา เพื่อส่งเสริมตลาดเนื้อวาฬภายในประเทศที่ตกต่ำมาเป็นระยะเวลานาน